มาตรฐาน ITA-2567

ITA (Integrity and Transparency Assessment : ITA คืออะไร?

ความหมายของ ITA (Integrity and Transparency Assessment : ITA) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (เป็นเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดาเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย ๑๐ ตัวชี้วัด ดังนี้
๑. ตัวชี้วัดที่ ๑ การปฏิบัติหน้าที่
๒. ตัวชี้วัดที่ ๒ การใช้งบประมาณ
๓. ตัวชี้วัดที่ ๓ การใช้อานาจ
๔. ตัวชี้วัดที่ ๔ การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ
๕. ตัวชี้วัดที่ ๕ การแก้ไขปัญหาการทุจริต
๖. ตัวชี้วัดที่ ๖ คุณภาพการดาเนินงาน
๗. ตัวชี้วัดที่ ๗ ประสิทธิภาพการสื่อสาร
๘. ตัวชี้วัดที่ ๘ การปรับปรุงระบบการทางาน
๙. ตัวชี้วัดที่ ๙ การเปิดเผยข้อมูล
๑๐. ตัวชี้วัดที่ ๑๐ การป้องกันการทุจริต

ความสาคัญของ ITA ต่อองค์กร ทำไมจึงต้องนำมาใช้?

คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สาธารณชนทราบและสามารถตรวจสอบการดาเนินงานได้ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และประชาชนผู้รับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมประเมินหรือแสดงความเห็นต่อหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใสและนาไปสู่การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของทุกภาคส่วน ซึ่งการประเมิน ITA มุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐได้มีการปรับปรุงพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ มีการดาเนินงานที่มุ่งให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและส่วนรวมเป็นสำคัญ และลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งนโยบายของ ITA มีดังนี้

  1. การสร้างความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงาน
  2. การส่งเสริมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่
  3. การปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน
  4. การสร้างวัฒนธรรมคุณธรรมในหน่วยงาน
  5. การส่งเสริมคุณธรรมการทางานในหน่วยงาน

แนวทางในการยกระดับผลการประเมิน ITA ให้สูงขึ้น?

๑. มีการแต่งตั้งคณะทางานเตรียมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
๒. มีการสารวจการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เพื่อนามาวิเคราะห์ และจัดทาการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกได้รับทราบ
๓. มีการจัดทาสื่อเกี่ยวกับ ITA ประชาสัมพันธ์ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ของหน่วยงาน