แนวปฏิบัติในการสอบปากคำของพนักงานสอบสวน

O15

          พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย ประมวลวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระเบียบ คำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติบนหลักของการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบ และเร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ ต่อเนื่องเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีหน้าที่และอำนาจในการแทรกแซงการดำเนินงานของพนักงานสอบสวน

        คำสั่งดังกล่าวกำหนดวิธีการปฏิบัติในการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนในทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนรับคำร้องทุกข์ การรับคำร้องทุกข์ การสอบสวนถามปากคำและบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา พยานการแจ้งผลความคืบหน้าการสอบสวนให้ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษทราบ การสอบสวนให้บันทึกรายละเอียดการรวบรวมพยานหลักฐานให้ระบุถึงการได้มาของพยานหลักฐาน และการดำเนินการเกี่ยวกับพยานหลักฐานนั้นๆ การทำสำนวนการสอบสวน
การทำความเห็นทางคดีที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนผู้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน
เป็นผู้ลงนามมีความเห็นทางคดี จากนั้นจึงเสนอความเห็นพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนและผู้มีอำนาจทำความเห็นทางคดี เพื่อพิจารณามีความเห็นทางคดีตามลำดับ โดยให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนและผู้มีอำนาจทำความเห็นทางคดี มีความเห็นทางคดีเป็นของตนเอง

การปฏิบัติของพนักงานสอบสวน

รับคำร้องทุกข์
          บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ ในสารบบการดำเนินคดี และลงรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วรีบดำเนินการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
การสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน
          ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๘ รวมทั้งระเบียบและคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง การสอบสวนให้บันทึกรายละเอียดการปฏิบัติการรวบรวมพยานหลักฐานให้ระบุการได้มาของพยานหลักฐาน และการดำเนินการเกี่ยวกับพยานหลักฐานนั้นๆ ทั้งนี้ ให้การแจ้งผลความคืบหน้าการสอบสวนให้ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษทราบตามกำหนดระยะเวลา
ทำความเห็นทางคดี
          พนักงานสอบสวนผู้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเป็นผู้ลงนาม มีความเห็นทางคดี จากนั้นจึงเสนอความเห็นพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนและผู้มีอำนาจทำความเห็นทางคดี เพื่อพิจารณามีความเห็นทางคดีตามลำดับ โดยให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน และผู้มีอำนาจทำความเห็นทางคดี มีความเห็นทางคดีเป็นของตนเอง

แนวทางปฏิบัติในการสอบสวนปากคำของพนักงานสอบสวน

กรณีสอบสวนปากคำบุคคลที่ต้องสงสัย(SUSPECT) และผู้ต้องหา (ACCUSED)

ผู้ต้องสงสัย หมายความว่าบุคลที่ถูกพาดพิงในคดีหรือถูกซักทอด และถูกสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผู้กระทำผิด แต่ยังไม่พยานหลักฐานเพียงพอที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ผู้ต้องหา  หมายความถึง  บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ( ป.วิอาญา ม.๒(๒) )

การสอบสวนปากคำผู้ต้องสงสัย

–          ดำเนินการสอบสวนปากคำไว้ในฐานะพยานไว้ก่อนโดยไม่ชักช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับคดีให้ครบถ้วน เช่นวันเดือนปี่ที่เกิดเหตุ พยานอยู่ที่ใด มีหลักฐานการแสดงสถานที่อยู่ในขณะเกิดเหตุหรือไม่,รู้จักผู้เสียหายหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องที่สงสัยว่าผู้ต้องสงสัย จะเป็นผู้กระทำผิดฯลฯเป็นต้น

–          รวบรวมพยานหลักฐานของผู้ต้องสงสัยที่นำมาชี้แจงกับพนักงานสอบสวนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องสงสัยเอง

–          หากพยานหลักฐานที่ผู้ต้องสงสัยอ้างมาไม่มีความน่าเชื่อถือ และจากการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนมีพยานหลักฐานพอที่จะแจ้งข้อหาได้ ให้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิอาญา

–          หากผู้ต้องสงสัยสามารถนำพยานหลักฐานมากล่าวอ้างให้น่าเชื่อถือได้ ก็ถือเอาคำให้การของผู้ต้องสงสัยดังกล่าวไว้ประกอบคดี เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป

การสอบสวนปากคำในฐานะผู้ต้องหา

         ๑. เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดก็ให้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม และผู้ต้องหามีสิทธิจะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์ต่อตนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔

         ๒. การสอบสวนปากคำผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน๑๘ปี ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ,ชีวิตร่างกาย ชุลมุนต่อสู้,เสรีภาพ กรรโชก,ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี,การค้าหญิงและเด็ก,ความผิดเกี่ยวกับสถานบริการ หรือความผิดที่มีโทษจำคุก ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน๑๘ปี ร้องขอ ให้พนักงานสอบสวนแยกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมและสอบสวนต่อหน้าสหวิชาชีพ(นักจิตวิทยาหรือนักสังคมฯบุคคลที่เด็กร้องขอ,พนักงานอัยการ)ตาม ป.วิอาญา ม.๑๓๓ ทวิ ประกอบ ป.วิอาญา ม.๑๓๔/๒

         3. คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิติหรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน๑๘ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ หากไม่มี ใหรัฐจัดหาทนายความให้ และในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความและต้องการทนายความให้รัฐจัดหาทนายความให้ ตาม ป.วิอาญา ม.๑๓๔/๑

4. ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบปากคำตนได้  ป.วิอาญา ม.๑๓๔/๓